- March 6, 2019
- by admin
- 0 Comments
เรื่องทั้งหมดที่ต้องรู้เกี่ยวกับกระบวนการปั๊มหัวใจคนไข้ในวัยต่าง ๆ
มีกระบวนการที่แตกต่างกันถ้าทำกับคนที่มีวัยต่างกัน ดังนั้นผู้ปฏิบัติต้องรู้ความแตกต่างเหล่านี้ เพราะหมายถึงความแตกต่างกันระหว่างการมีชีวิตรอดหรือไม่รอดของผู้ได้รับความช่วยเหลือ ในบทความนี้ เราจะพูดถึงความแตกต่างที่ผู้อ่านต้องเข้าใจ เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในเวลาที่ต้องทำการปั๊มหัวใจ ดังนี้
คำอธิบายกว้าง ๆในความหมายของคำว่าห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตของเด็ก
ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตของเด็ก เป็นขั้นตอนที่ต้องทำเพื่อช่วยชิวิตเด็กที่ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้น สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่นั้น ผู้ทำการปั๊มหัวใจต้องประเมินสถานการณ์และตัดสินใจว่าควรเรียกหน่วยฉุกเฉินมาทำการปั๊มหัวใจให้หรือไม่ สำหรับเด็ก กระบวนการปั๊มหัวใจต้องทำในทันที เพราะภาวะหัวใจหยุดเต้นของเด็กมักจะมีผลกระทบต่อระบบการหายใจด้วย ถ้าไม่รีบทำการปั๊มหัวใจให้ทันที สมองเด็กจะขาดอ๊อกซิเจนจนเกิดผลร้ายอย่างถาวร ถ้าไม่มีใครมาช่วยตามตัวหน่วยฉุกเฉินให้ ในช่วงที่ผู้ช่วยชีวิตกำลังทำการปั๊มหัวใจ อย่างน้อยต้องพยายามตามตัวหน่วยฉุกเฉินมาช่วยให้ได้ภายใน 2 นาทีหลังเริ่มปั๊มหัวใจ ส่วนรายละเอียดของการปั๊มหัวใจผู้ป่วยในวัยอื่นมีดังนี้
กระบวนการปั๊มหัวใจผู้ใหญ่
เช่นเดียวกัน ผู้ช่วยเหลือต้องประเมินสถานการณ์และเรียกหน่วยฉุกเฉินมาช่วยก่อนเริ่มกระบวนการปั๊มหัวใจ สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ตรวจสอบชีพจรเพื่อดูว่าผู้ป่วยยังมีจังหวะการเต้นของหัวใจที่เป็นปกติอยู่หรือไม่ ก่อนเริ่มกดมือลงบนหน้าอก คือให้มีจังหวะการเต้นของชีพจรในระหว่าง 100-120 ครั้งต่อนาที หรือราว ๆ 2 เท่าใน 1 วินาที แต่เป็นการบังเอิญที่จังหวะการเต้นของชีพจรนี้ เป็นจังหวะเดียวกันกับจังหวะของเพลง “Staying Alive” ของวงดนตรี the Beegees อยู่ด้วย ดังนั้นถ้าร้องเพลงนี้ในใจในขณะทำการปั๊มหัวใจผู้ป่วยก็จะช่วยให้รักษาจังหวะการเต้นของชีพจรให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ให้ใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบอัตโนมัติ (AED) พร้อมกันไปด้วยถ้ามีเครื่องนี้อยู่ใกล้ตัว และคุณรู้วิธีใช้มัน แต่อย่าพยายามทำการปั๊มหัวใจผู้ป่วย ถ้าคุณไม่มีความชำนาญมากพอ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
กระบวนการปั๊มหัวใจเด็ก
การปั๊มหัวใจเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 121 ปอนด์ (หรือราว ๆ 54 กิโลกรัม) ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เรียกว่า Pediatric Resuscitation Protocol อย่างเคร่งครัด ข้อแตกต่างระหว่างการปั๊มหัวใจเด็กกับผู้ใหญ่ก็คือ ต้องทำการปั๊มหัวใจทันที ก่อนเรียกบริการฉุกเฉิน ที่น่าแปลกก็คือ ร่างกายของเด็กมีความทนทานต่อการปั๊มหัวใจมากกว่าผู้ใหญ่ และมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าผู้ใหญ่มาก ถ้าเริ่มได้ในทันที แต่ต้องคำนึงไว้ด้วยว่า ทางเดินของลมหายใจในเด็กมีความเปราะบางมากกว่าของผู้ใหญ่ จึงต้องระวังไม่ไปทำอะไรให้หลอดลมหรือปอดฉีกขาดเสียหาย นอกจากนี้ให้ใช้แรงเพียงประมาณ ¼ ที่ใช้กับผู้ใหญ่เพื่อลดการเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นในทรวงอกของผู้ป่วย
กระบวนการปั๊มหัวใจเด็กทารก
นับจนถึงเวลานี้ การปั๊มหัวใจเด็กทารกเป็นงานที่ยากที่สุดในบรรดางานปั๊มหัวใจผู้ป่วยในวัยต่าง ๆ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงมากมายหลายประการที่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตรายแก่เด็กทารก อันดับแรกก็คือ ต้องให้แน่ใจว่า ทารกอยู่ในสภาพหมดสติอย่างแท้จริง โดยดูได้จากปฏิกริยาตอบโต้ของเด็กต่อแสงและเสียง อย่าพยายามเขย่าตัวเด็ก เพราะจะเป็นอันตรายต่อสมองของเด็กที่ลอยอยู่ในช่องว่างของกระโหลกศีรษะได้ ให้ใช้วิธีตบมือให้มีเสียงดัง เขี่ยหรือลูบปลายเท้าของเด็กดูว่ามีปฏิกริยาตอบโต้หรือไม่ ถ้าไม่มีปฏิกริยาตอบโต้ ให้เริ่มกระบวนการปั๊มหัวใจทันที โดยให้ตรวจสอบชีพจรที่ข้อมือก่อนเริ่ม พอมาถึงขั้นตอนที่ต้องเป่าอากาศเข้าปอดของผู้ป่วย ให้ระวังอย่าดันศีรษะของผู้ป่วยไปทางด้านหลังมากเกินไป เพราะจะเป็นอันตรายต่อหลอดลมของผู้ป่วย ส่วนการกดมือลงบนหน้าอกของผู้ป่วยนั้น ใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วกดตรงหน้าอกตอนบนของคนไข้ โดยใช้แรงเพียงประมาณ 1/8 ของแรงที่ใช้กับคนไข้ที่เป็นผู้ใหญ่ และใช้จังหวะกดเหมือนที่ทำกับเด็ก
Bangkok First Aid จัดอบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล ในกรุงเทพฯ โดยมีการอบรมทั้งในเรื่องของ ACLS และ CPR ติดต่อเรามาได้เลย ดูว่าเราจะช่วยคุณได้อย่างไร สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลกับเราได้แล้ววันนี้ที่ Line ID: @bkkfirstaid หรือโทร 094-631-9679 (สำหรับภาษาไทย) และ 091-887-4020 (สำหรับภาษาอังกฤษ) หรือสามารถสั่งซื้อชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นในแบบที่คุณต้องการแบบออนไลน์ได้แล้วที่ bangkok-firstaid.com/
เราจัดส่งการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล CPR คุณภาพสูงในกรุงเทพและทุกที่ในประเทศไทย
ในฐานะผู้ให้บริการฝึกอบรม American Heart Association ที่ได้รับการรับรองเรามีความภาคภูมิใจในการนำเสนอหลักสูตรการปฐมพยาบาล CPR AED ที่มีคุณภาพสูงแบบโต้ตอบ (วิดีโอ AHA) และใช้งานได้จริงเพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะได้รับทักษะในทางปฏิบัติและความมั่นใจในการช่วยชีวิต เรามีใบรับรองในประเทศและต่างประเทศซึ่งมีอายุ 2 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรของเราโปรดติดต่อเรา
หากคุณมีกลุ่มผู้เข้าร่วมขั้นต่ำ 5 คนเราสามารถจัดส่งหลักสูตรในสถานที่ของคุณหรือในสถานที่ที่เหมาะกับคุณ บริษัท กรุงเทพเฟิร์สเอด จำกัด จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมนอกสถานที่ซึ่งครอบคลุมทั้งทักษะการทำ CPR AED สำหรับผู้ใหญ่เด็ก (เด็กและทารก) และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น นอกจากนี้เรายังมีหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ครอบคลุมพร้อมการตรวจสอบซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติตามมาตรฐานระดับชาติและระดับสากลสำหรับหลักสูตร CPR และการปฐมพยาบาลในสถานที่ทำงาน